องค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ

Nongpakoa Subdistrict Administrative Organization

www.nongpakoa.go.th

นายอรุโณทัย ปิมลือ

(นายก อบต.หนองป่าก่อ)

โทร. 098-1740661

คำแถลงนโยบาย

นางสาวสุดา ปฏิเสน

ปลัด อบต.หนองป่าก่อ

เบอร์โทร 0966979397

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.1 วิสัยทัศน์

       องค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

"ยึดหลักธรรมภิบาล มุ่งมั่นการพัฒนา   ใส่ใจทุกปัญหา   นำพาคุณภาพชีวิตที่ดี"

 

        2.2  ยุทธศาสตร์

          องค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ  ได้กำหนดยุทธศาสตร์จำนวน  6  ยุทธศาสตร์  ดังนี้

          ยุทธศาสตร์ที่   1   การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

          ยุทธศาสตร์ที่   2   การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

          ยุทธศาสตร์ที่   3   การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 

          ยุทธศาสตร์ที่   4  การพัฒนาด้านการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ยุทธศาสตร์ที่   5  การพัฒนาด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบ

          ยุทธศาสตร์ที่   6  การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร   

         2.3  เป้าประสงค์

             1. เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี พึ่งพาตนเองได้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

             2. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุขและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา     ศาสนาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมอันดีของตำบล

             3. เพื่อส่งเสริมและให้บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

             4. เพื่อให้ตำบลหนองป่าก่อมีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครอบคลุมทั่วถึง

             5. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดูแลสิ่งแวดล้อม

             6. เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

             7. เน้นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน      

      2.4  ตัวชี้วัด

            1. ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มขึ้น

            2. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            3. ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาและมีคุณภาพที่เพิ่มขึ้น

            4. ประชาชนเข้าถึงการรับบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้น

            5. ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            6. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขั้นพื้นฐานในชุมชน

            7. มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

            8. ชุมชนมีศักยภาพเข้มแข็ง

            9. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

           10.ประชาชนได้รับบริการด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

      2.5  ค่าเป้าหมาย

           1. สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สมดุลและยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           2. ส่งเสริมการด้านการศึกษา ฟื้นฟู อนุรักษ์   มรดกทางวัฒนธรรม  ประเพณีท้องถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น

           3. ส่งเสริมและให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

           4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค  สาธารณูปการ  ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนตามศักยภาพของ อบต. 

           5. พัฒนาปรับปรุง  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรป่าไม้ 

           6. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

           7. พัฒนาระบบการทำงานของ อบต.  ให้บริการดี  มีความใสสะอาด  โปร่งใส  และตรวจสอบได้   สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างภาครัฐกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ 

          2.6  กลยุทธ์

                ยุทธศาสตร์ที่  1  การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

                   กลยุทธ์ที่  1  ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็งและสร้างรายได้

                   กลยุทธ์ที่  2  สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรแบบครบวงจร

                   กลยุทธ์ที่  3  ส่งเสริมพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว

 

                 ยุทธศาสตร์ที่  2  การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

                   กลยุทธ์ที่  1  ดำรงฐานวัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะและทุนทางสังคมของล้านนา

                   กลยุทธ์ที่  2  ส่งเสริมการจัดการศึกษา

                   กลยุทธ์ที่  3  ส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขและป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

                   กลยุทธ์ที่  4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส

                   กลยุทธ์ที่  5  ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ

                   กลยุทธ์ที่  6  การดูแลความปลอดภัยของชุมชน และการดูแลการจราจร

       

                 ยุทธศาสตร์ที่  3  การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 

                   กลยุทธ์ที่  1  การก่อสร้าง  ปรับปรุง  รักษา ถนน  สะพาน ท่อระบายน้ำและสิ่งปลูกสร้าง

                   กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาระบบประปา

                   กลยุทธ์ที่  3  พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ

                   กลยุทธ์ที่  4 พัฒนาระบบการจัดการแหล่งน้ำและพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

                ยุทธศาสตร์ที่  4  การพัฒนาด้านการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   กลยุทธ์ที่  1  อนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้พืชดินและน้ำ

                   กลยุทธ์ที่  2  พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   กลยุทธ์ที่  3  การควบคุมและกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี

              ยุทธศาสตร์ที่  5  การพัฒนาด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบ           

                  กลยุทธ์ที่  1  เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                  กลยุทธ์ที่  2  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                  กลยุทธ์ที่  3  การป้องกันปัญหายาเสพติด

              ยุทธศาสตร์ที่     6  การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

                 กลยุทธ์ที่  1  ส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

                 กลยุทธ์ที่  2  ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชน

                 กลยุทธ์ที่  3 ส่งเสริมธรรมาภิบาลและพัฒนาบุคลากรในองค์กร เพื่อการบริหารจัดการองค์กรที่ดี

                 กลยุทธ์ที่  4 ปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ สถานที่ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

         2.7  จุดยืนทางยุทธศาสตร์

                  จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)  หมายถึง  ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปาก่อจึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ดังนี้

            (1)  เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ และปัญหาความยากจนลดลง

            (2)  การพัฒนาคน ชุมชนให้มีคุณภาพ มีชีวิตที่มั่นคง ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

            (3)  การคมนาคมมีความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง

           (4)  การอนุรักษ์ฟื้นฟู การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

           (5)  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

           (6)  เน้นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 

 

ย้อนกลับ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น